โครงการ ทัวร์เดินเท้า ย่านสร้างสรรค์ เมืองเพชรบุรี

วัตถุประสงค์และความสำคัญของโครงการ

  1. ฟื้นฟูย่านที่เงียบเหงาให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้งเหมือนในอดีต การมีนักท่องเที่ยวเข้ามาในพื้นที่จะทำให้เกิดการทักทาย การแลกเปลี่ยนความรู้ที่จะสร้างความภาคภูมิใจให้คนในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี
  2. ส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน เมื่อนักท่องเที่ยวเข้ามาในพื้นที่ย่อมเกิดการใช้จ่ายไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหารการกิน งานหัตถกรรม ของที่ระลึก รวมถึงบริการต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นตามมา
  3. เพื่อเป็นเครื่องมือให้เราเรียนรู้จากอดีต ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของชุมชน แม้ว่าไม่สามารถอ้างได้ว่าให้ภาพที่สมบูรณ์ที่สุด แต่บทเรียนที่เราได้เรียนรู้จากสถานที่ ผู้คน เหตุการณ์ในอดีตนั้นประเมินค่าไม่ได้
  4. เพื่อเป็นสื่อนำชุมชนมารวมกัน การท่องเที่ยวมีอำนาจในการสร้างความสามัคคีทั้งในชุมชน ท้องถิ่น สังคมและการเมือง สามารถให้ความรู้สึกถึงความเป็นชุมชน และการเฉลิมฉลองมรดกของชุมชนร่วมกัน
  5. เพื่อเป็นที่ให้ความรู้แก่คนรุ่นอนาคต การท่องเที่ยวชุมชนจะมีบทบาทในด้านการศึกษาของคนรุ่นต่อๆ ไปเสมอ ตั้งแต่การสร้างกิจกรรมที่มุ่งเป้าไปที่เด็กๆ ไปจนถึงการสอนเด็กๆ ในสภาพแวดล้อมเสมือนห้องเรียน ที่สถาบันต่างๆ ทั่วโลกกำลังพยายามถ่ายทอดความรู้
  6. เพื่อเป็นสถานที่เรียนรู้และให้ประสบการณ์ สำหรับครอบครัวในการมาเรียนรู้ร่วมกัน และเป็นโอกาสสำหรับคนหนุ่มสาวในการได้รับประสบการณ์จริงจากชุมชน
  7. การท่องเที่ยวด้วยการเดิน จะชวยลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้ เป็นที่ทราบกันดีว่าโลกกำลังเผชิญปัญหาการเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศที่เกิดจากมลภาวะ การท่องเที่ยวด้วยการเดินจะเป็นวิธีหนึ่งช่วยลดมลภาวะได้

เเนวความคิดของโครงการ

ทัวร์เดินเท้า ย่านสร้างสรรค์ เมืองเพชรบุรี เป็นเส้นทางเดินท่องเที่ยวชุมชนที่เหมาะสำหรับผู้คนทุกรุ่นวัย มีนักเล่าเรื่องซึ่งเป็นคนในชุมชนเป็นคนนำเดิน มีเรื่องราวที่น่าสนใจน่าเรียนรู้ ระหว่างทางมีจุดแวะเป็นระยะไปตลอดทาง ผู้คนในชุมชนมีความเป็นมิตร เปิดบ้านต้อนรับ พูดคุย ทักทายนักท่องเที่ยว พ่อค้าแม่ค้ายิ้มแย้มแจ่มใส จำหน่ายอาหารและข้าวของต่าง ๆ ให้กับนักท่องเที่ยวในราคาที่เป็นมิตร มีกิจกรรมศิลปะหรืออาหารให้นักท่องเที่ยวได้ลงมือทำได้รับประสบการณ์ที่ดี ได้ของที่ระลึกกลับบ้าน

พื้นที่เป้าหมาย เขตเทศบาลเมืองเพชรบุรี ย่านวัดเกาะและหัวถนนพานิชเจริญ ที่ตัดเลียบแม่น้ำเพชรบุรี เป็นชุมชนย่านการค้าสำคัญในอดีตของเมืองเพชรบุรี มีบ้านเรือนเก่ารายเรียงทั้งริมถนนและริมแม่น้ำ

  • หอนาฬิกาวัดเกาะ จุดนัดพบ
  • วัดเกาะ วัดเก่าสมัยอยุธยาที่มีภาพเขียนเก่าแก่อยู่บนผนังภายในโบสถ
  • ศาลเจ้าบ้านปืน สถานที่เล่าเรื่องความเป็นมาของชุมชนและถนนพานิชเจริญ
  • โรงทองโกวแขก บ้านของช่างทองโบราณเชื้อสายชาวช่างทองจีน
  • ขนมอาลัว บ้านครูปราณี ตัวอย่างของโรงขนมที่ทำกันภายในครอบครัว
  • บ้านชูบดินทร์ บ้านของครูช่างทองโบราณที่ปัจจุบันไม่ได้รับทำทองแล้ว แต่ยังมีการเก็บรักษาเครื่องมือของช่างทองในอดีตไว้ได้เป็นอย่างดี
  • ท่าน้ำต้นโพธิ์โรงไม้ ท่าน้ำสาธารณะทางลงสู่แม่น้ำเพชรบุรี ที่กลุ่มลูกหว้า ร่วมกับโรงค้าไม้สงวนศิลป์ พัฒนาเป็นพื้นที่เรียนรู้เรื่องการปั้นหม้อตาลและเส้นทางการค้าน้ำตาลในอดีตของเพชรบุรี ซึ่งเป็นการเดินทางทางน้ำ
  • บ้านเจียมจิต บ้านของครูชุ่ม สุวรรณช่าง ช่างเขียนที่ฝากผลงานเป็นป้ายชื่อบ้าน ร้านค้า สถานที่ทางราชการ ซึ่งต่อมาได้มีการนำเอาอักษรของครูชุ่ม มาพัฒนาเป็น ฟ้อนต์ ชื่อ เจียมจิต ให้ดาวน์โหลดใช้ได้ฟรี
  • บ้านบุญสืบ ร้านขายของที่ระลึก ซึ่งพัฒนาโดย พี่พัด สุวลี บัวสุวรรณ์ ฝ่ายกราฟิก ของกลุ่มลูกหว้า
  • ศาลเจ้าวัดลาด ศาลเจ้าที่เป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง แฟนฉัน
  • บ้านจันทร์เพ็ญ บ้านไม้เรือนไทยอายุกว่า 120 ปี ที่ยังรักษาสภาพเรือนไทยในใจกลางเมืองไว้ได้อย่างน่าประหลาดใจ
  • บ้านปราณิสา บ้านสวยแสนคลาสสิกในซอยขุนวิเทศ เป็นพื้นที่สร้างสรรค์ของทุกคน
  • ศาลเจ้าต้นโพธิ์ประตูเมือง ศาลเจ้าที่เป็นที่เคารพนับถือกันของชาวเมืองเพชรบุรี ในอดีตมีกำแพงเมืองอยู่ด้วย
  • บ้านขุนวิเชียรพานิช บ้านของคหบดีที่ในอดีต ที่ได้รับการรีโยเวทใหม่ มีที่พักบริการนักท่องเที่ยวด้วย

ผู้ดำเนินการ วิสาหกิจชุมชน เพชรบุรี ดีจัง โดย กลุ่มลูกหว้า ร่วมกับ ชุมชนย่านหัวถนนพานิชเจริญ

ครีเอเตอร์ ออกแบบเสริมศักยภาพของพื้นที่ในแต่ละจุด ออกแบบวิธีการสื่อสาร สร้างคอนเทนต์ ออกแบบและผลิตสื่อที่ใช้ในการเล่าเรื่อง

สิ่งที่คาดหวัง

  • การท่องเที่ยวชุมชนจะได้รับความสนใจมากขึ้น
  • ชุมชนจะกลับมามีชีวิตชีวามากขึ้น
  • เส้นทางเดินท่องเที่ยวมีความน่าสนใจมากขึ้น
  • เปลี่ยนถนนเป็นพื้นที่สร้างสรรค์ เปลี่ยนบ้านเป็นมหาวิทยาลัย

สนใจทัวร์เดินเท้า ติดต่อ กลุ่มลูกหว้า 0812908091