เมืองเพชร เมืองช่างแห่งสยาม Phetchaburi: City of Siamese artisans

BY Patcharalada Jullapech

“คนเมืองเพชรเป็นคนที่มีมืออันประณีต”
Phetchaburians possesses meticulous hands”

คำดังกล่าวสะท้อนความเป็นช่างของคนเมืองเพชรได้อย่างชัดเจน เพชรบุรีอุดมไปด้วยศิลปะ หัตถกรรม หากมองขึ้นไปบนท้องฟ้าของเพชรบุรีเราจะไม่เห็นตึกสูงใหญ่โต แต่จะเห็นยอดแหลมของพระปรางค์วัดมหาธาตุ เมื่อขับรถไปตามถนนสายต่างๆ จะพบกับวัดวาอารามที่ร่มรื่น พบกับปราสาทสมัยโบราณสีน้ำตาลแดงเข้มของศิลาแลง จิตรกรรมฝาผนังตามโบสถ์วิหารเกือบทุกวัด เมื่อออกไปยังอำเภอต่างๆ จะพบกับเครื่องไม้เครื่องมือทางการเกษตร อุปกรณ์จับปลาในแถบริมทะเล และเรือนไทยหลังคาจั่วแบบเพชรบุรี

The above mentioned words accurately reflect the integrity of Phetchaburian artisans. Phetchaburi is overflowing with arts and crafts. If you look up to the sky above Phetchaburi, instead of tall skyscrapers you will see the peak of Wat Mahathat Woravihara temple. On each road you will be met with peaceful and ancient red-brown temples made from laterites, most of them are adorned with mural paintings inside the cathedral. If you travel to other districts of the province, you will find agricultural apparatus, coastal fishing tools, and classic gabled-roofed Thai houses in Phetchaburian style.

งานช่างในเพชรบุรี เก่าแก่ยาวนานนับพันปี ตั้งแต่สมัยทวารวดี เช่น กลุ่มโบราณสถานทุ่งเศรษฐี, สมัยขอม เช่น กลุ่มปราสาทที่วัดกำแพงแลง, สมัยอยุธยา ที่ก่อเกิด “สกุลช่างเมืองเพชร” เช่น พระนอนวัดพุทธไสยาสน์ มีพระพักตร์ได้สัดส่วนงดงาม วัดใหญ่สุวรรณารามมีศาลาการเปรียญเป็นอาคารไม้แบบอยุธยาและจิตรกรรมฝาผนังภาพเทพพนม วัดเกาะแก้วสุทธารามที่ยังคงมีภาพจิตรกรรมฝาผนังที่สมบูรณ์และสวยงามยิ่ง สมัยรัตนโกสินทร์ เช่น งานปูนปั้นในวัดมหาธาตุวรวิหาร พระนครคีรี พระรามราชนิเวศน์ ได้รับอิทธิพลมาจากอยุธยาตอนปลายและศิลปะตะวันตก

Phetchaburian crafts works are thousands of years old. It can be trace back to various time periods. From the era of Dvaravati: archaeological sites Thung Setthi. From the Khemere era:  the castle of Kamphaeng Laeng temple. From Ayutthaya period, from which the term “Phetchaburi, the clan of craftsmen” was born, for example: the reclining Buddha of Phra Phutta Saiyat temple with its beautifully symmetrical face of the Buddha, Yai Suwannaram temple with its Ayutthayan style wooden sermon hall and its mural painting of Thephanom (a figure of deva), Ko Kaeo Suttharam temple which possess a beautiful and perfectly preserved mural painting. From the Rattanakosin period: the stucco works inside Mahathat Woravihara temple. Lastly Phra Nakhon Khiri Historical Park, and Phra Ram Ratchaniwet Palace, both have been influence by the combination of the late Ayutthaya period and western arts.

งานช่างที่โดนเด่นของเพชรบุรี เช่น งานปูนปั้น ใช้ประดับหน้าบัน ซุ้มประตูโบสถ์ สามารถหาชมได้ทุกวัดในเพชรบุรี ความพิเศษของปูนปั้นเมืองเพชร คือมีลวดลายสวยงาม สีขาวนวลของปูนอันงดงามมาจากช่างที่พิถีพิถันในการผสมปูนเอง โดยใช้กระดาษฟาง กาวหนัง น้ำตาลโตนด ทรายละเอียด ปูนขาวและน้ำผสมเข้าด้วยกัน งานปูนปั้นยังนิยมทำร่วมกับงานลงรักปิดทองและประดับกระจก

One of the most prominent artisan works of Phetchaburi are stuccos, which are used to decorate the front yard, and temple arch, which can be found adorning every Phetchaburian temples. Phetchaburian stuccos are unique because of its fascinating patterns, the beautiful off-white colored lime produced by craftsmen who meticulously blend their own lime by mixing rice papers, palm sugar, fine sand, lime and water. Furthermore, stuccos are used as part of gilded works and window decorations.

งานตอกกระดาษ เป็นลวดลายไทยและสัตว์ในวรรณคดี ใช้สำหรับตกแต่งสถานที่ ประดับเมรุ ประดับโกศ นำมาใช้ในงานบุญต่างๆ งานบวช งานแต่งงาน โดยจะตอกกระดาษเป็นสีสันสดใส ทำเป็นธงราว ประดับประดาเคียงคู่กับพวงมะโหตร

Tok Kradas (paper carving), the art of carving Thai pattern or mythical beasts on papers, they are used to decorate different sites, such as funeral pyres, and cinerary urns. They are generally used in various events, for instance; ordination ceremonies, and weddings. For such special events colorfully carved paper flags are hanged from railings adorning the ceremonies together with paper garlands.

ช่างทองเมืองเพชร ลายโบราณของทองเมืองเพชรมักเป็นลายธรรมชาติ เช่น ลายดอกพิกุล ลายลูกสน ลายเต่าร้าง ลายกลีบบัว ช่างทองของเมืองเพชรจะใช้ช่างฝีมือเพียงคนเดียวในการผลิตชิ้นงาน ซึ่งเป็นการผลิตด้วยมือเกือบทั้งหมด การผลิตด้วยมือเพียงอย่างเดียวทำให้งานแต่ละชิ้นมีเอกลัษณ์เฉพาะตัว แหล่งทองโบราณเมืองเพชรจะอยู่บนถนนพานิชเจริญและถนนสุรินทร์ฤาชัย

Phetchaburian gold smiths, traditional gold patterns usually of the natural designs, such as phikul flowers, pine cones, fishtail palms, and lotus flowers. The gold smiths of Phetchaburi will use only one smith per assignment, and it is for the most part made by hand. Producing each piece by hand gives each piece of work its own unique characteristics. Traditional source of gold in Phetchaburi are on Pa Nich Charoen Street and Surin Ruechai Street.

งานแทงหยวก  เป็นงานที่ประณีตวิจิตรบรรจง ใช้ในงานบวช งานโกนจุก งานกฐิน งานศพ ที่โดดเด่นคือการประดับจิตกาธานในงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพของพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศ์ อาทิ พิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี, สมเด็จพระพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนาฯ, สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอเจ้าฟ้าเพชรรัตน์ราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี และพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ในหลวงรัชกาลที่ 9 ซึ่งช่างแทงหยวกเป็นช่างจากเพชรบุรี

Thaeng Yuak (Banana stalk carving) is a delicate and precise work, commonly use in ordination ceremonies, kon chuk (top-knot cutting) ceremonies, and funerals. Most prominent are the decorations of royal catafalque used during royal cremation ceremonies of Kings and royal family members, such as royal cremation ceremony of Princess Mother Srinagarindra, Galyani Vadhana (Princess of Naradhiwas), Princess Bejaratana Rajasuda, and Phra Bat Somdet Phra Poraminthra Maha Bhumibol Adulyadej Borommanatbophit (King Rama IX), whose Thaeng Yuak craftsman comes from Phetchaburi.

ปัจจุบันได้แบ่งงานช่างเมืองเพชรออกเป็น งานปูนปั้น, งานจิตรกรรมไทย, งานลงรักปิดทองประดับกระจก, งานลายรดน้ำ, งานทําทอง, งานแทงหยวก, งานตอกกระดาษ ,งานจําหลักหนังใหญ่,งานแกะสลักไม้, งานปั้นหัวโขนหัวละครและงานปั้นหัวสัตว์ มีการสร้างสรรค์งานให้เห็นตามวัดต่างๆ และมีการเผยแพร่โดยการเปิดสอนให้กับผู้ที่สนใจตามบ้านครูช่างและการทำกิจกรรมกับเยาวชน เช่น กลุ่มลูกหว้า ที่ใช้หอศิลป์สุวรรณารามในพื้นที่ของวัดใหญ่สุวรรณารามเป็นสถานที่ถ่ายทอดความรู้        

Presently, the craftsmen of Phetchaburi are divided into stucco work, Thai mural painting, the art of gilded mirrors, Thai lacquer work, Banana stalk carving, paper carving, large embroidery, wood carving, and the sculpting of Khon mask and animal mask. Art works can be found adorning various temples, the skills and technique are taught to those who are interested at the home of master’s craftsmen and youth activities, such as the Luk Hwa group who uses the Suvwannaram Gallery inside the great Suvwannaram temple to learn the trade of craftsmen.