ลูกหว้าพาไหว้พระ ชมศิลปะงานช่างวัดใหญ่สุวรรณารามวรวิหาร

วัดใหญ่สุวรรณารามวรวิหาร เป็นวัดที่เชื่อกันว่ามีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ปรากฏหลักฐานต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะศิลปะงานช่าง ที่ประกอบอยู่ทั้งที่พระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ และอื่น ๆ ซึ่งกลุ่มลูกหว้าได้ออกแบบเป็นเส้นทางสำหรับให้ผู้มาเบี่ยมชมได้ชมกันประมาณ 10 จุด ซึ่งใช้เวลาประมาณ 30 นาที สำหรับการเดินชมเอง หรือหากเป็นบริการพาชมโดยกลุ่มลูกหว้าก็จะใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง หรืออาจถึง 2 ชั่วโมงหากท่านที่ต้องการรายละเอียดมากกว่า

พระอุโบสถ สถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาและลายปูนปั้นที่หน้าบัน

โบสถ์วัดใหญ่สุวรรณาราม วรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี
พระอุโบสถและระเบียงคด มองจากลานภายนอก ซึ่งอยู่ด้านทิศตะวันออก
ลายปูนปั้นหน้วบันของพระอุโบสถวัดใหญ่สุวรรณารามวรวิหาร จังหวัดเพชรบุรี

ไหว้พระปฏิมาในพระอุโบสถ และชมงานศิลปะ 10 จุดพร้อมเรื่องเล่าในแต่ละจุด

พระประธานภายในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ

ชมงานจิตรกรรมสมัยอยุธยาบนฝาผนังภายในและภาพทวารบาลที่มีความงดงาม

ฝาผนังมีภาพจิตรกรรมที่สวยงาม

ภาพจิตรกรรมเทพชุมนุมในพระอุโบสถ

ระเบียงคต รอบพระอุโบสถ ประวัติความเป็นมา ลักษณะเด่น และช่างผู้ออกแบบ

ระเบียงรอบพระอุโบสถนี้ สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยช่างผู้ออกแบบและก่อสร้าง คือนายขันธ์ เกิดแสงศรี หรือ ขุนศรีวังยศ สร้างเป็นศาลาราย 8 หลัง มีกำแพงเชื่อต่อกัน แต่ละหลังเป็นศาลาทรงจตุรมุข หังคาซ้อนกัน 2 ชั้น หน้าบันเป็นไม้แกะสลักเป็นลายกนกเปลง ตรงกลางแกะเป็นพานทองรองรับพระขรรค์แสงชัย เหนือพระขรรค์เป็นรูปเลข ๕ อยู่ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฏ ล้อมรอบด้วยช่อชัยพฤกษ์ และมีแถบริบบิ้นอยู่ด้านล่างสุด

ระเบียงคดรอบพระอุโบสถ ด้านทิศเหนือ มีเลข ๕ ติดกลับด้าน แปลกกว่าหน้าบันด้านอื่น ๆ

หอไตรสามเสา เรือนไทยกลางสระน้ำ

หอไตร 3 เสา

ปริศนาหน้าจั่วระเบียงคตกับลายฉลุไม้ที่มีเลข ๕ กลับด้าน

หน้าจั่วระเบียงคด ที่มีเลข ๕ กลับด้าน

ศาลาการเปรียญ พระตำหนักในราชสำนักอยุธยาถูกย้ายมาอยู่ที่วัดใหญ่ได้อย่างไร

ศาลาการเปรียญวัดใหญ่สุวรรณารามวรวิหาร

บานประตูแกะสลักไม้ของศาลาการเปรียญที่มีรอยแตกคล้ายถูกขวานจาม

บานประตูไม้แกะสลักลงรักปิดทอง

บันไดไม้หัวม้าหางปลา สถาปัตยกรรมที่อาจเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์

เสาลายทอง และภาพจิตรกรรมที่ฝาปะกนด้านในของศาลาการเปรียญ

เสาลายทองภายในศาลาการเปรียญวัดใหญ่สุวรรณารามวรวิหาร

มุขประเจิด หน้าจั่วที่มีเสาทะลุหลังคาขึ้นไปรองรับ

มุขประเจิดของศาลาการเปรียญ

พาชมหอศิลป์สุวรรณาราม เรือนไทยหมู่ 7 หลัง ที่เดิมเคยใช้เป็นกุฏิสงฆ์

หอศิลป์สุวรรณาราม

ชมนิทรรศการ รักษ์ลายทอง จำลองลายเสา : การอนุกรัษ์ของเสาร่วมในศาลาการเปรียญซึ่งเป็นศิลปะงานช่างสมัยอยุธยา