กลุ่มลูกหว้า กลุ่มนักกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้สาธารณะ มุ่งมั่นดำเนินกิจกรรมเพื่อให้สาธารณชนตระหนักถึงความสำคัญของการเรียนรู้ ภูมิปัญญา ศิลปะ วัฒนธรรมท้องถิ่น พยายามเชื่อมโยงกับองค์กรต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ศิลปะ และวัฒนธรรม เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2549
วิสัยทัศน์ เพชรบุรีเป็นพื้นที่เรียนรู้ มีคุณค่า ทุกตารางนิ้ว
พันธกิจ ขับเคลื่อนให้เกิดพื้นที่สร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้อย่างมีความสุข
ปรัชญาของกลุ่มลูกหว้า ภูมิใจในวิถีช่างวิถีชุมชนเมืองเพชร
อัตลักษ์ เรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติจริง
หลักการทำงาน Study Design Inspire Transform
นิยามของพื้นที่สร้างสรรค์ พื้นที่เรียนรู้อย่างมีความสุข
กายภาพของพื้นที่สร้างสรรค์ เล่น เรียนรู้ ริเริ่ม ร่วมทำ แบ่งปัน
แนวคิดขับเคลื่อนพื้นที่สร้างสรรค์ = SPACES
- S Space
- P Play / Participate / Practice
- A Art / Activities
- C Communicate / Community
- E Empower / Education
- S Sharing
สื่อที่นำมาใช้กับพื้นที่สร้างสรรค์ : ศิลปะและวัฒนธรรมท้องถิ่น
แนวคิดการสร้างความยั่งยืน : การผลิตซ้ำทางวัฒนธรรม
- โรงเรียนลูกหว้า
- เวิร์คชอป วาด เพนท์ พิมพ์ โดย ป๊อบ สุดาลักษณ์ บัวคลี่
- เวิร์คชอป เซรามิกเพชรพราว โดย หนูแดง สุนิสา ประทุมเทือง
- ฟรีเวิร์คชอป มหัศจรรย์พวงมโหตร โดย ตี๋ เขมชาต เตียวประเสริฐ
- หอศิลป์สุวรรณาราม คลิกดูที่ตั้ง
- ทัวร์เดินเท้า ย่านสร้างสรรค์ เมืองเพชรบุรี
- บ้านบุญสืบ ถนนพานิชเจริญ เป็น ร้านขายของที่ระลึกและผลิตภัณฑ์
- บ้านจันทร์เพ็ญ เวิร์คชอปขนมคันหลาว
- ถนนมีชีวิต พานิชเจริญ ถนนคนเดิน โดย เทศบาลเมืองเพชรบุรี
- เครื่อข่ายมรดกที่มีชีวิต Living Legacy
- เครือข่ายกลุ่มเด็กและเยาวชนเพชรบุรี ดีจัง 8 อำเภอ
กระบวนการออกแบบกิจกรรมของกลุ่มลูกหว้า 5 ขั้นตอน
- ค้นหา
- เรียนรู้
- ออกแบบกิจกรรมถ่ายทอด
- ทดลองถ่ายทอด จำลองของจริง
- จัดกิจกรรมถ่ายทอดสู่สาธารณะ
แนวคิดในการออกแบบกิจกรรมอย่างสร้างสรรค์
- สื่อสาร
- สร้างสรรค์
- มีส่วนร่วม
กลุ่มลูกหว้าใช้ทุนจากไหน
- รับจัดกิจกรรมสร้างสรรค์
- จำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการเรียนรู้
กลุ่มลูกหว้า